Sunday, September 18, 2022

ความหมายของ ธัมมสังคิณีมาติกา



1.1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้ความหมายและอธิบายความ ธัมมสังคิณีมาติกา ไว้ดังนี้:

มาติกา (อ่านว่า มาดติกา) แปลว่า หัวข้อ, แม่บท มาติกา หมายถึง พระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า

1.2 คำขยายความของท่านผู้รู้ท่านหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่งสร้างความเข้าใจความหมายของ ธัมมสังคิณีมาติกามากยิ่งขึ้นว่าดังนี้

พิธีสวดมาติกา (มาติกาแปลว่า แม่บท สวดมาติกาแปลว่าสวดแม่บทธรรม) การสวดมาติกา คือ การสวดบทมาติกาของอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์หรือที่เรียกว่า "สัตตัปปกรณาภิธรรม" ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด เป็นประเพณีนิยมจัดให้สงฆ์สวดในงานทำบุญหน้าศพย่างหนึ่ง เรียกโดยโวหารทางราชการในงานหลวงว่า "สดัปปกรณ์" แต่ราษฎรสามัญทั่วไปเรียกว่า "สวดมาติกา" โดยจัดเป็นพิธีต่อ จากสวดพระพุทธมนต์เย็นบ้าง ถ้ามีเทศน์ต่อจากสวดพระพุทธมนต์เย็น ก็จัดพิธีต่อจากสวดมาติกาต่อจากพิธีเทศน์และจัดให้มีต่อจากพิธีเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นบ้างจัดให้มีก่อนฌาปนกิจศพบ้างนับเป็นพิธีทำบุญแทรกในระหว่างงานทำบุญศพ ระยะใดระยะหนึ่งได้ทั้งนั้น ตามแต่ศรัทธาของเจ้าภาพจะพึงเห็นเหมาะและจัดให้มีในระยะไหน ระเบียบการจัดพิธีสวดมาติกานี้ ทั้งฝ่ายเจ้าภาพ และฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ ไม่พิสดารอะไร มีนิยมทำกันอยู่ทุกวันนี้

No comments:

Post a Comment